วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมา

ประวัติของกล้องถ่ายรูปและภาพกล้องรุ่นโบราณ
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

ประวัติกล้องถ่ายรูป

    มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้นใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ

    แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น  มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา  คือ

    1.) ฟิสิกส์  ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ

    2.) เคมี  ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ

    การ ถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน  คือ  การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ  ไปปรากฏบนฉากรองรับ  และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร

    อริสโตเติล  นัก วิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ400 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ซึ่งมีใจความว่า..  "ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด  ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ"

    ต่อ มาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ "กล้องออบคิวรา" ซึ่งเป็นภาษาละติน  หมายถึง  "ห้องมืด"  หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "กล้องรูเข็ม" นั่นเอง

    วิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Photography" มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก  โดย "Phos = แสงสว่าง" และ "Graphein = เขียน"  เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง "เขียนด้วยแสงสว่าง แต่ในปัจจุบันนี้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิด ขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง

    และ ครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป  การล้างฟิล์ม  การอัดขยายภาพ  และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน กล่าวโดยสรุป  วิชาการถ่ายรูปก็คือ "ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย" นั่นเอง

    สำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น  ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว  ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด  ต้นตระกูลอมาตยกุล  ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป  และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน นี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น  และยังมีภาพถ่ายสถานที่  ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย

ตั้งแต่ที่มีการคิดค้นการถ่ายภาพ  จนปรากฏภาพถ่ายแรกของโลกที่เรารู้จักและมีหลักฐานมาถึงวันนี้ในปี ค.ศ.1825 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาอย่างช้าๆ
เริ่มจากกล้องสำหรับผู้ใช้ทั่วๆ ไปตัวแรกของโลก คือ Daguerrotypeในปี ค.ศ. 1839 จำหน่ายในราคาประมาณ 50 ดอลล่าร์สหรัฐ  กระทั่งปี1900 หรือประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา  โกดักก็เปิดตัวกล้องถ่ายภาพรุ่นBrownie สามารถโหลดฟิล์มได้  และมีช่องมองภาพเป็นอุปกรณ์เสริม  ใส่ไว้ทางด้านบน  ราคากล้องรุ่นนี้เพียง 1 ดอลล่าร์สหรัฐ  ได้รับความนิยมอย่างมาก  แต่ก็เป็นกล้องที่หายากมากในปัจจุบัน  การถ่ายภาพระบบดิจิตอลถือกำเนิดขึ้นเมื่อมีการคิดค้น CCD สำหรับใช้บันทึกในกล้องวิดีโอเมื่อปี ค.ศ. 1970  ถัดมาอีกเพียงปีเดียว  ก็มีการส่งข้อความทางอีเมล์เป็นครั้งแรกของโลก โดย Ray  Tomlinsn
ในปี 1974 ก็มีการใช้เทคโนโลยี CCD ร่วมกับกล้องเทเลสโคบขนาดนิ้ว บันทึกภาพดวงจันทร์ด้วยระบบดิจิตอลเป็นภาพแรกที่ความละเอียด100 x 100 พิกเซล
ปี 1976 Canon ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพ 35 มม. SLR ตัวแรกของโลกที่มีไมโครโปรเซสเซอร์รุ่น AE-1 สำหรับการประมวลผลและควบคุมการทำงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบในวันนี้  อีกห้าปีต่อมา Pentax ก็ผลิตกล้องรุ่น ME-F ที่ใช้เลนส์ออโต้โฟกัสในกล้อง SLR เป็นตัวแรกของโลก
ปี 1981 Sony เปิดตัวกล้องถ่ายภาพที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้  ถ่ายภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ต้องใช้ฟิล์ม  แต่ยังไม่ใช่กล้องดิจิตอล  เป็นเพียงกล้องโทรทัศน์หรือกล้องภาพนิ่งวิดีโอ  จัดเก็บภาพด้วยแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 2 นิ้ว  ใช้ชื่อว่า Sony Mavica (Megnetic Video Camera) บันทึกด้วย CCD ให้ภาพที่มีความละเอียด 570 x 490 พิกเซล(ขนาดของชิพคือ 10 x 12 มม.) ความไวแสงเทียบเท่า ISO 200 ปี
ปี 1986 หรืออีกสองปีต่อมา  Canon ก็ผลิตกล้องภาพนิ่งวิดีโอออกจำหน่ายให้กับนักถ่ายภาพมืออาชีพเป็นครั้งแรก  ในรุ่น RC-701  โดยมีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ช่างภาพข่าวเป็นหลัก  ช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น โดยชื่อรุ่น RC มาจากคำว่า Realtime Camera หรือกล้องที่ได้ภาพทันทีนั่นเอง  มีเลนส์ซูมขนาด 11-66 มม. f/1.2 ราคา 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ  แต่ถ้ารวมอุปกรณ์รับส่งภาพทางสายโทรศัพท์ครบชุดจะมีราคา 27,000 ดอลล่าร์สหรัฐ  ขนาดของ CCD คือ 6.6 x 8.8 มม.  ความละเอียด 187,200พิกเซล  ถ่ายภาพต่อเนื่องได้เร็ว 1-10 เฟรม/วินาที  ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และกล้องรุ่นนี้ได้ถูกช่างภาพข่าว Tom Dillon ของหนังสือพิมพ์ USA Today ถ่ายภาพและตีพิมพ์เป็นภาพข่าวสีภาพแรกที่บันทึกด้วยกล้องภาพนิ่งวิดีโอ โดยบรรณาธิการภาพข่าวได้เห็นภาพดังกล่าวหลังจากที่ช่างภาพบันทึกไปแล้วในเวลาเพียง 12 นาทีเท่านั้น  ทางสมาคมนักข่าวของอเมริกา  เล็งเห็นประโยชน์ของภาพดิจิตอลกับงานข่าว  จึงวางแผนที่จะเปลี่ยนการส่งภาพข่าวจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอลเพราะช่วยประหยัดเวลาในการส่งภาพได้ถึง 90% ทีเดียว
ปี 1997 เป็นปีที่มีกล้องดิจิตอลจากผู้ผลิตนับสิบยี่ห้อ  ทั้งจาก Nikon, Canon, Minolta, Olympus, Kodak, Fujifilm, Casio, Epson, Konica, Kyocera, Panasonic, Ricoh, Samsung, Sanyo, Sony, Sharp, Toshiba, Vivitar และอื่นๆ อีกมากมาย  กล้องส่วนใหญ่ให้ขนาดภาพ 640 x 480พิกเซล  มีเพียงบางรุ่นที่เกิน 1 ล้านพิกเซล  เช่น  Olympus Camedia C-1400L  ความละเอียด 1.4 ล้านพิกเซล  ออกแบบรูปทรงเป็นตัวแอล (L)คล้ายกับกล้อง SLR Kodak DC210  ความละเอียด 1 ล้านพิกเซล  จัดเก็บภาพด้วยการ์ด Fuji DS-300  ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล
ปี 1998 ในปีนี้กล้องดิจิตอลถูกผลิตขึ้นมากอีกกว่าหนึ่งเท่าตัว  ส่วนใหญ่มีความละเอียด 1.2-1.5 ล้านพิกเซล  โดยมีกล้องที่โดดเด่นคือดิจิตอล SLR ของโกดักรุ่น DCS 520  ใช้บอดี้ Canon ES1N  ความละเอียด 2 ล้านพิกเซล  จัดเก็บภาพด้วยฮาร์ดดิสก์ PCMCIA Type III 340 MB
ปี 1999  ตลาดกล้องดิจิตอลเติบโตขึ้นมาก  ในแต่ละเดือนมีกล้องรุ่นใหม่ๆ หลายสิบรุ่น  ส่วนใหญ่มีความละเอียดที่ 2 ล้านพิกเซล  เพียงพอกับการนำไปอัดขยายภาพขนาด 4 x 6 นิ้ว  ให้คุณภาพดีพอสมควร  แม้ว่าจะยังห่างไกลกับการใช้ฟิล์ม  แต่ก็พอยอมรับได้  และ Olympus ก็เปิดตัวกล้องตระกูล C เป็นครั้งแรกในรุ่น C-2020
ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน  กล้องดิจิตอลมีการพัฒนาอย่างมาก  ในแต่ละปีมีกล้องรุ่นใหม่ๆ จากหลายสิบยี่ห้อนับร้อยรุ่น  ตั้งแต่กล้องคอมแพคตัวเล็กๆ  จนถึงกล้องรุ่นใหญ่สำหรับมืออาชีพ  ความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจาก 2, 3, 4 เป็น 5 ล้านพิกเซล  กล้องคอมแพคบางรุ่นในวันนี้ เช่น Sony DSC-F828  มีความละเอียดสูงถึง 8 ล้านพิกเซล  ส่วนดิจิตอล SLR ก็ขึ้นไปถึง 14 ล้านพิกเซลใน Kodak DSC-Pro14n  กล้องรูปทรงแปลกๆ ใหม่ๆ ถูกผลิตออกมามากมาย  บางรุ่นบางเฉียบเหมือนบัตรเครดิต  บางรุ่นหน้าตาแทบไม่ต่างกับกล้องใช้ฟิล์ม  แต่ที่น่าสนใจมากคือในขณะที่คุณภาพดีมากขึ้น  ราคากลับลดลงอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะกล้องดิจิตอล SLR ระดับ 6 ล้านพิกเซล  จากราคานับล้านบาทเมื่อสี่ปีก่อน  เหลือไม่ถึงห้าหมื่นบาทในปีนี้  รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การ์ด CF 128 MB ที่มีราคาประมาณ 20,000 บาทในปี 2000  ถึงปีนี้ลดเหลือเพียงพันกว่าบาทเท่านั้น  ส่งผลให้ตลาดกล้องดิจิตอลมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด  จากเดิมในปี 1996  มียอดขายกล้องดิจิตอลทั่วโลกประมาณ 1 ล้านตัว  แต่ในปี 2002 ที่ผ่านมา  มียอดขายมากกว่า 30ล้านตัว   ส่วนในเมืองไทยของเราก็มียอดขายนับแสนตัวและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน


กล้องต่างๆๆ

 1. กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera)
เป็นกล้องที่ไม่มีกลไกสลับซับซ้อน  มีขนาดรูรับแสงคงที่  อาจเป็น หรือ11 อันใดอันหนึ่ง  และมีความเร็วชัตเตอร์เดียวปกติประมาณ 1/60  กล้องชนิดนี้ให้ระยะชัดตั้งแต่ ฟุตขึ้นไปจนถึงไกลที่สุด  ขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มขนาด 120, 127 และ 620  บางชนิดอาจใช้ฟิล์มขนาด 126 ก็ได้ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ถ่ายรูปได้ดีในสภาพที่มีแสงเพียงพอ


 2. กล้องพับ (Folding Camera)
เป็นกล้องที่มีห้องมืดชนิดพับระหว่างตัวกล้องกับเลนส์  สามารถพับ เห็บ หรือยืดออกมาได้  นอกจากนั้นกล้องชนิดนี้ยังเพิ่มขนาดของรูรับแสง  และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ได้หลายระดับมากยิ่งขึ้น  และอาจใช้กับไฟแวบอีกด้วย  ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาดต่างๆ เช่น 120, 127 และ 620 เป็นต้น


 3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera) 
กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น แบบ  คือ
3.1 แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)  บางครั้งอาจเรียกว่ากล้อง TLR ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน  กล้องชนิดนี้มีเลนส์ ตัว  เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อน  ทำให้ผู้ถ่ายรูมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้  ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสง  เพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม กล้องรีเฟล็กซ์เลนส์คู่นี้ได้รวมเอาข้อดีของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกัน  โดยเฉพาะสามารถมองภาพจากข้างบนกล้องได้  โดยลดกล้องให้ต่ำลง  แล้วมองภาพจากช่องมองได้สะดวกสบาย อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย  เนื่องจากใช้เลนส์ ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน  ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบน  อาจจะไม่เหมือนกันกับภาพที่ถ่าย  ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax)  ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ๆ  บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไป  แม้ว่าเวลามองที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม  อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ  นอกจากนี้  กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้  จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน  ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม. ก็ได้

3.2 แบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)  หรือเรียกว่า SLR ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  เพราะสะดวกและง่ายต่อการประกอบภาพ  นอกจากนั้น  ยังมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันได้มากมาย  กล้องชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้  และไม่มีอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพ (Parallax) เลย  เพราะใช้เลนส์ตัวเดียวทำหน้าที่ทั้งมองภาพ หาระยะชัด และบันทึกภาพ  อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ อาจจะชำรุดได้ง่ายเพราะการกระดกขึ้นลง ของกระจก 45 องศา  อีกประการหนึ่ง  เมื่อกดชัตเตอร์จะมีเสียงดังมาก  อาจทำให้เกิดการรบกวนได้  โดยเฉพาะถ้านำไปถ่ายรูปสัตว์  อาจทำให้สัตรว์ตื่นตระหนกตกใจได้  นอกจากนั้นเมื่อถ่ายรูปในที่ๆ มีแสงน้อย อาจทำให้การมองภาพที่ช่องมองไม่ชัดเจน  เพราะมีการสะท้อนหลายครั้งที่กระจกและปริซึมภายในตัวกล้อง  ทำให้ความเข้มของแสงลดลงไปได้  กล้องรีเฟลกซ์เลนส์เดี่ยวส่วนมากใช้ระบบชัตเตอร์ม่านจึงทำให้ใช้ความเร็วของชัตเตอร์ได้สูงมาก  การเปลี่ยนขนาดของรูรับแสงก็มีมาก  ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีเบอร์ 135, 126, 120, 220 และ 110 ซึ่งสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มาก


 4. กล้องเล็ก (Miniature Camera)
กล้องเล็ก (Miniature Camera) หรือ กล้องวิวไฟเดอร์ (View finder) บางคนก็เรียกว่า เรนจ์ไฟเดอร์ (Range Finder) หรือเรียกว่า กล้อง 35 มม.  มาตรฐาน (35 mm. Standard Camera)  เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐาน คือ 35 มม.  กล้องชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่น 

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

กล้องดิจิตอล คอมแพ็คคือ




       ก็คือ  กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล  ที่ใช้ง่าย  เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน
เนื่องจากใช้งานง่าย ราคาถูก ตัวเลนส์ติดกับตัวกล้องไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้
รูปทรงของกล้องดิจิตอลชนิดนี้มีทั้งแบบที่เหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบคอมแพคที่ใช้ฟิล์ม
เรื่อยไปจนถึงขนาดกระเป๋าเสื้อ(packet-sized) ที่แบนและบาง
โดยปกติแล้วขนาดของกล้องประเภทน้จะขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้ รวมทั้งสื่อบันทึกข้อมูลด้วย